วันอังคารที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2555

รักหนึ่ง คำจดจำตลอดไป

เพื่อนกับชู้ดูไม่ยาก

ความรักหายาก...คนรักหาง่าย

เปลี่ยนแฟนหลายหน ไม่ใช่คนหลายใจ

สิ่งเล็กๆที่เรียกว่ารัก

ฉันจะอยู่เคียงข้างเธอ

จากนี้ไปจนนิรันดร์

รักไม่ต้องการเวลา

อย่าทำอย่างนี้ไม่ว่ากับใคร

วันจันทร์ที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2555

สมาคมอาเซียน – ประเทศไทย

ความเป็นมา

สมาคมอาเซียน – ประเทศไทย (ASEAN Association – Thailand) ได้รับการประกาศจัดตั้งขึ้นโดยกระทรวงการต่างประเทศเมื่อปลายปี พ.ศ. 2551 โดยมุ่งหวังให้สมาคมฯ มีบทบาทสำคัญในการช่วยส่งเสริมการดำเนินงานของภาครัฐและสร้างความตระหนักรับรู้เกี่ยวกับความร่วมมือของอาเซียนในด้านการเมือง เศรษฐกิจสังคม และวัฒนธรรม เพื่อทำให้กระบวนการสร้างประชาคมอาเซียนประสบความสำเร็จตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ในปี พ.ศ. 2558
สมาคมอาเซียน – ประเทศไทยมีเป้าหมายที่จะช่วยทำให้ประชาชนได้เข้าใจ และตระหนักถึงประโยชน์ของอาเซียนที่มีต่อการดำเนินชีวิต ทั้งยังมุ่งหวังที่จะเป็นช่องทางให้ประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการสร้างประชาคมอาเซียนผ่านการดำเนินกิจกรรมของสมาคมฯ และจะเป็นเวทีที่เปิดกว้างเพื่อรับฟังความคิดเห็นต่างๆ เกี่ยวกับอาเซียนจากภาคประชาชนหลากหลายสาขาอาชีพ

“วัตถุประสงค์ของสมาคมฯ”
•สร้างมิตรภาพและความเข้าใจระหว่างประชาชนของประเทศต่างๆ ในสมาคมประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) เพื่อสันติภาพ ความมั่งคั่ง ความเป็นอยู่ที่ดี ของประเทศสมาชิกและประชาชนของประเทศสมาชิกอาเซียน
•เป็นกลไกคู่ขนานกับภาคราชการในการส่งเสริมให้ประชาชนไทยมีความสำนึกถึงความเป็นประชาชนอาเซียนซึ่งจะต้องมีความเอื้ออาทรต่อกัน
•เผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับอาเซียนและของประเทศสมาชิกอาเซียน ทั้งทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ วิชาการ สังคมและวัฒนธรรมให้แก่ประชาชน
•ส่งเสริมความร่วมมือในด้านเศรษฐกิจ สังคม และวิชาการ และการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม และขนบธรรมเนียมประเพณี ระหว่างประชาชนของประเทศสมาชิกอาเซียน รวมถึงการจัดกิจกรรมร่วมกันและการแลกเปลี่ยนการเยือนระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนของภาคประชาชน หรือภาคประชาสังคม
•เป็นศูนย์กลางประสานการดำเนินงานขององค์การอื่นใดที่มิใช่รัฐบาล และกับภาคประชาสังคมทั้งทางด้านสังคม วัฒนธรรม การศึกษาวิทยาศาสตร์ สิ่งแวดล้อม การจัดการภัยพิบัติ สาธารณสุข การพัฒนา สิทธิมนุษยชน และเรื่องอื่นๆ ที่จะเป็นการส่งเสริมการสร้างประชาคมอาเซียนภายใต้กฎบัตรอาเซียน
•วัตถุประสงค์อื่นใดตามที่คณะกรรมการของสมาคมฯ ได้มีมติเห็นชอบและได้รับความเห็นชอบจากกระทรวงการต่างประเทศ รวมทั้งได้รับการจดทะเบียนจากนายทะเบียนเรียบร้อยแล้ว

น้ำชา ชีรณัฐ - ฉันรู้

โกหกไม่ลง พูดตรงๆไม่ได้

รักได้ครั้งละคน เชื่อใจ... - ตั๊กแตน

วันอาทิตย์ที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2555

เพลง ละอายใจ

ความทรงจำในลมหายใจ

รักนะค่ะ

ณ บัดNow

CLASH - ปฏิเสธไม่ได้ว่ารักเธอ

CLASH - ฝากความยินดี

รักเพื่อนผิดไหม

วันพฤหัสบดีที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2555

กอด

แพ้ใจ

ประเทศไทยของเรา

            
                                                                                                                                                        ประเทศไทย หรือ ราชอาณาจักรไทย ตั้งอยู่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้


     มีพรมแดนทางทิศตะวันออกติดลาวและกัมพูชา ทิศใต้ติดอ่าวไทยและมาเลเซีย ทิศตะวันตกติดทะเลอันดามันและพม่า และทิศเหนือติดพม่าและลาวโดยมีแม่น้ำโขงกั้นเป็นบางช่วง ประเทศไทยเป็นสมาชิกของสหประชาชาติ เอเปค และ อาเซียน มีศูนย์รวมการปกครองอยู่ที่กรุงเทพมหานครซึ่งเป็นเมืองหลวงของประเทศ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ครองราชย์ในฐานะประมุขแห่งรัฐ ยาวนานที่สุดในโลก
     ปัจจุบันประเทศไทยปกครองด้วยเผด็จการทหาร ก่อนที่จะเกิดเหตุการณ์รัฐประหาร 2549 ได้ใช้การปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข     
    ประวัติศาสตร์

    ประเทศไทยมีประวัติศาสตร์ยาวนานมาก โดยมีความสืบเนื่องและคาบเกี่ยวระหว่างอาณาจักรโบราณหลายแห่ง เช่น อาณาจักรทวารวดี ศรีวิชัย ละโว้ เขมร ฯลฯ โดยเริ่มมีความชัดเจนในอาณาจักรสุโขทัยตั้งแต่ปี พ.ศ. 1981 อาณาจักรล้านนาทางภาคเหนือ กระทั่งเสื่อมอำนาจลงในช่วงต้นพุทธศตวรรษที่ 19 แล้วความรุ่งเรืองได้ปรากฏขึ้นในอาณาจักรทางใต้ ณ กรุงศรีอยุธยา โดยยังมีอาณาเขตที่ไม่แน่ชัด ครั้นเมื่อเสียกรุงศรีอยุธยาเป็นครั้งที่สองในปี พ.ศ. 2310 พระเจ้าตากสินจึงได้ย้ายราชธานีมาอยู่ที่กรุงธนบุรี
    ภายหลังสิ้นสุดอำนาจและมีการสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์เมื่อ พ.ศ. 2325 อาณาจักรสยามเริ่มมีความเป็นปึกแผ่น มีการผนวกดินแดนบางส่วนของอาณาจักรล้านช้าง ครั้นในรัชกาลที่ 5 ได้ผนวกดินแดนของเมืองเชียงใหม่ หรืออาณาจักรล้านนาส่วนล่าง (ส่วนบนอยู่บริเวณเชียงตุง) เป็นการรวบรวมดินแดนครั้งใหญ่ครั้งสุดท้าย วันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 ได้เปลี่ยนแปลงการปกครองมาเป็นระบอบประชาธิปไตยแต่ก็ต้องรออีกถึง 41 ปี กว่าจะได้นายกรัฐมนตรีที่มาจากการเลือกตั้งครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2516 หลังจากเหตุการณ์ 14 ตุลา หลังจากนั้นมีเหตุการณ์เรียกร้องประชาธิปไตยอีกสองครั้งคือ เหตุการณ์ 6 ตุลา และพฤษภาทมิฬ ล่าสุดได้เกิดรัฐประหารขึ้นอีกครั้งในปี พ.ศ. 2549

อาหารไทยที่ชอบ



อาหารสุดโปรด


      ต้มยำเป้นอาหารพื้นเมืองที่คนไทยคุ้นเคยกันดี เพราะคนไทยกินกันทุกภาค เป็นอาหารที่ชาวต่างชาตินิยมสั่งกันอยู่ไม่น้อย หนึ่งในเมนูต้มยำที่ดังกระฉ่อนระดับโลก คือต้มยำกุ้ง ต้มยำเป็นอาหารที่ครบรส คือ เปรี้ยว เค็ม เผ็ด หวานเล็กน้อย ทำให้ไม่เลี่ยน ไม่ฝืดคอเวลากิน ต้มยำประกอบไปด้วย สมุนไพร หลากหลาย ซึ่งดีต่อสุขภาพ ได้แก่ ข่า ตะไคร้ ใบมะกรูด พริก มะนาว หรือ บางเมนู อาจจะมีใบกะเพรา ผักชีฝรั่งและโหระพาร่วมด้วย นอกจากนี้ยังมี เห็ด ต่างๆรวมทั้ง มะเขือเทศ ผักชี ต้มยำปรุงจากเนื้อสัตว์ ต่างๆได้มากมาย ทั้ง หมู ไก่ ปลา กุ้ง หรือเนื้อวัว ฯลฯ ต้มยำพอจะแบ่ง ออกเป็น 2 ประเภทได้แก่
1.ต้มยำน้ำใส ต้มยำน้ำใสนั้นถือได้ว่าเป็นต้นตำรับของต้มยำ เพราะอาหารไทยในอดีตนั้นมักจะไม่ใส่นมหรือกะทิและมักจะปรุงกันอย่างง่ายๆ ไม่มีเครื่องปรุง อะไรมากมายนัก ถ้าเป็นทางภาคอีสานก็จะต้องเป็นต้มแซบที่ใส่พริกแห้ง และข้าวคั่วลงไปในหม้อต้มนั้นด้วย โดยต้มยำน้ำใสจะมีส่วนประกอบหลักๆ คือ เนื้อสัตว์ เช่น กบ ปลาช่อน ไก่บ้าน ฯลฯ และจะมีเครื่องเทศหลักๆ คือ ตะไคร้ ใบมะกรูด พริก ทั้งสดและแห้ง ข่า เป็นต้น ซึ่งส่วนประกอบที่ได้มานั้นเป็นทั้งเครื่องเทศที่ช่วยในการชูรส ชูกลิ่นของอาหาร อีกทั้งยังเป็นสมุนไพรอีกด้วย
2. ต้มยำน้ำข้น ต้มยำที่หลายคนเคยชินกันดี และยังเป็นต้มยำที่สามารถสร้างชื่อเสียงให้กับอาหารไทยโด่งดังไปทั่วโลก หลายคนอาจจะคิดว่า ต้มยำกุ้งน้ำข้นคือต้มยำแบบไทยแท้ แต่แท้จริงแล้วจากประวัติต้มยำกุ้ง ที่เปลี่ยนมาใส่นมกินอย่างน้ำข้นนั้น เริ่มในสมัยรัชกาลที่ 6 ช่วงที่ท่านเสด็จประพาสไปเสวยเหลาแถวสามย่าน สมัยนั้นมีเสหลาของคนจีนเข้ามาใหม่ร้านหนึ่ง เหลาแห่งนั้นทำต้มยำกุ้งใส่นมเป็นน้ำข้น ใครรุ่นนั้นที่ไฮโซก็ต้องไปกินเหลาร้านนี้ก็จะติดภาพต้มยำกุ้งของไทยต้องใส่ นม จริงๆ ไม่ใช่ต้มยำกุ้งดั้งเดิม จริงๆ จะเป็นแบบน้ำใส และคงเป็นเพราะนมหรือกะทิที่มีการใส่ลงไปในต้มยำ จนทำให้ต้มยำน้ำข้นนั้นคล้ายคลึงกับซุปของชาวต่างชาติที่นิยมใส่นม หรือใส่ครีมลงไป จึงทำให้ต้มยำกุ้งน้ำข้นของไทยเราโด่งดังไปทั่วโลก